
เบียร์ ale และ lager แตกต่างกันอย่างไร สำหรับคอเบียร์แล้ว การดื่มเบียร์อาจจะมีเหตุที่หลากหลายมากไม่ว่าจะเป็นการดื่มเบียร์เพื่อเข้าสังคม เพื่อผ่อนคลายหลังเลิกงานหรืออะไรก็แล้ว แต่การดื่มเบียร์ทุกวัน ก็อาจจะต้องมีพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องเบียร์ไว้บ้างอย่างน้อย ๆ ก็ควรจะรู้ว่า เบียร์ มีกี่ประเภท เผื่อมีโอกาสได้ทานเบียร์ที่หลากหลายจะได้รู้ว่าที่ดื่มแล้วชอบนั้นเป็นเบียร์ประเภือะไร ทีนี้ถ้าหากคุณทราบพื้นฐานของเบียร์อยู่บ้างแล้ว ก็อาจจะเคยได้ยืนว่าเบียร์นั้นมี 2 ประเภทคือ lager beer กับ beer ale แล้วเคยสงสัยหรือไม่ว่าทั้งสองประเภทแตกต่างกันอย่างไร
โดยในหนังสือ Writer’s Taste ดื่มประวัติศาสตร์ จิบวิวัฒนาการ สําราญรสเบียร์ ของ อุทิศ เหมะมูล นักเขียนรางวัลซีไรต์ ได้มีการเล่าถึงประเภทของเบียร์แบบรวบรัด แต่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก
“…ถ้าผมจำจะต้องบอกเล่า ผมจะขอรวบรัดเริ่มว่า เบียร์แบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ เอล (Ale) กับ ลาเกอร์ (Lager) ไม้หนึ่งต้นแบ่งออกเป็นสองกิ่งใหญ่ ก่อนแตกแขนงออกไปเป็นกิ่งก้านย่อยและพุ่มใบอีกหลากหลาย จักรวาลของเบียร์แผ่ร่มเงาอยู่เบื้องหน้า ถ้าผู้อ่านอยากนั่งพักจากสาระและการงานอันเหนื่อยหนัก หย่อนใจสักหน่อยด้วยเบียร์เย็นๆ ช่วยเทใส่แก้ว อย่าใส่น้ำแข็ง มองดูน้ำสีอำพันอันแตกต่าง ยกดมสักเล็กน้อยก่อนดื่ม สร้างสุนทรีย์ให้ชีวิตอย่างง่ายๆ เบียร์เย็นๆ ช่วยดับกระหายคลายร้อน แต่แอลกอฮอล์ทำให้กระเพาะร้อน เลือดกายอุ่นสูบฉีด ภาวะเย็นจากปากและลิ้น กับภาวะอุ่นร้อนภายในกายขัดแย้งกัน เป็นเช่นนี้เอง รสที่ขัดแย้งเป็นส่วนหนึ่งของความสุนทรีย์แห่งชีวิต”
เบียร์ เกิดขึ้นมาเมื่อไหร่
เบียร์นั้นถือเป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม อ่านมาถึงตรงนี้สำหรับคนที่เป็นคอเบียร์นั้นก็คงจะทราบดีอยู่แล้วว่าเบียร์คืออะไร แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า จุดเริ่มต้นของเบียร์นั้นคือเมื่อไหร่ เกิดขึ้นมาได้ยังไง และใครเป็นผู้คิดขึ้นเบียร์ขึ้นมาเป็นคนแรกกันแน่ ซึ่งก็ต้องขอบอกเลยว่าคำถามนี้อาจจะตอบยากเสียหน่อย เพราะต้องย้อนอดีตกลับไปอย่างน้อย ๆ ก็ประมาณ 5 พันปีก่อนคริสต์ศักราชในอิหร่านเลยก็ว่าได้ เพราะในสมัยนั้นพวกเขาคิดว่าเบียร์นั้นเปรียบเสมือเป็นเครื่องดื่มที่พระเจ้าประทานมาให้ เนื่องจากเมื่อได้มีการดื่มเข้าไปแล้วนั้นพลังงานจะมีการเพิ่มมากยิ่งขึ้น และทำงนได้เยอะขึ้นอีกด้วย ทั้งยังให้ความรู้สึกสดชื่นด้วยเช่นกัน
หรือถ้าย้อนกลับไปนานกว่านั้น เป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ผู้คนอาจจะรู้จักเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยบังเอิญจากการได้น้ำผึ้งที่ถูกปล่อยทิ้งในอากาศนานๆ และพบวิธีทำแอลกอฮอล์โดยใช้วิธีหมักผลไม้เป็นเวลานานๆ ก็สามารถมีแอลกอฮอล์ไว้ดื่มกินได้ ซึ่งได้รับรู้ว่าเครื่องดื่มประเภทนี้จะเป็นตัวกระตุ้นเร้าจิตใจได้เป็นอย่างดีทีเดียว
ทั้งนี้ในปัจจุบันการดื่มเบียร์จะให้ความรู้สึกแตกต่างออกไปจากการดื่มเบียร์ในยุคแรก เพราะการดื่มเบียร์นั้นจะทำให้เมามากกว่ารู้สึกสดชื่น ซึ่งมีการคาดว่าอาจจะเป็นเพราะสมัยก่อนนั้น ปริมาณของแอลกอฮอล์ในเบียร์อาจจะไม่ได้เยอะเท่ากับปัจจุบัน และการดื่มเบียร์ในยุคก่อนนั้นเป็นการดื่มเป็นวัฒนธรรมเท่านั้น ไม่ได้ดื่มจริงจังในชีวิตประจำวันแบบในทุก ๆ วันนี้นั่นเอง
ชื่อแรกของเบียร์
หลายคนอาจจะยังไม่ทราบหรือเข้าใจผิดว่า เครื่องดื่มที่เป็นสีเหลือง ซ่า ๆ มีฟอง ที่เรียกว่า เบียร์ ในทุววันนี้ แท้จริงแล้วคนยุคก่อนไม่ได้เรียกว่า เบียร์ แต่เรียกว่า Ale ต่างหาก ซึ่งอาจจะเคยได้ยินในหนังหรือซีรีย์ย้อนยุคของฝรั่ง ถ้าหากมีฉากที่ได้มีการเสิร์ฟเครื่องดื่มที่ลักษณะคล้ายเบียร์แต่กลับถูกเรียกว่าเอล ซึ่งเกิดจากว่าเพราะในสมัยก่อนนั้นเบียร์ยังไม่ได้มีการถูกแตกแขนงออกมามากมายนนัก จึงมีแค่เอล แต่ในช่วงประมาณต้น ๆ ศตวรรตที่ 19 ก็ได้มีการกำหนดสายพันธุ์ที่มีชื่อว่า lager ขึ้นมาแล้ว แล้วก็มีการถูกแตกแขนงออกไปอีกมากมายเลยทีเดียว
เบียร์ ale และ lager แตกต่างกันอย่างไร

เมื่อทราบถึงประวัติของเบียร์ไปแล้วแบบพอประมาณนั้น ก็อาจจะทราบได้ว่าจักรวาลของเบียร์นั้นกว้างใหญ่ไพศาลไปเป็นอย่างมาก ซึ่งเบียร์นั้นได้แบ่งออกเป็นทั้งหมด 2 ประเภทใหม่ ๆ คือ เอล กับ ลาเกอร์ และสงสัยหรือไม่ว่าทั้งสองแตกต่างกันอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรูป รส กลิ่นของเบียร์แต่ละชนิดรวมไปถึงกลวิธีในการผลิตว่ามีอะไรบ้าง และดังที่ได้กล่าวไปนั้น เบียร์ได้แบ่งออกเป็นทั้งหมด 2 ประเภท คือ เบียร์เอล (Ale) และ เบียร์ลาเกอร์ (Lager) โดยหลัก ๆ นั้นจะมีการยึกเกณฑ์ของบีสต์ที่ใช้และกระวบการหมักที่แตกต่างกัน
1. เอล (Ale) จะเป็นเบียร์ที่เกิดจากการใช้ยีสต์ประเภทหมักลอยผิว (top-fermenting yeast) ซึ่งกระบวนการหมักจะเกิดขึ้นบริเวณด้านบนของถังหมักเบียร์ จึงนิยมเรียกการหมักแบบนี้ว่า เป็น Top-Fermentation และจะใช้อุณหภูมิอบอุ่นปานกลาง (ประมาณ 15-24 องศา เซลเซียส์ ซึ่งอุณหภูมิสูงกว่าการหมักเบียร์ลาเกอร์) เอลจะใช้เวลาหมักประมาณ 7-8 วัน (หรือน้อยกว่า) ซึ่งใช้เวลาน้อยกว่าลาเกอร
เอลเป็นเบียร์ที่มีสีเข้ม บอดี้เข้มข้นและรสชาติแรงกว่า รสขมกว่าและดีกรีสูงกว่าลาเกอร์ โดยทั่วไปคือมีดีกรีประมาณ 5.5 -6.5 %โดยมากมักจะมีกลิ่นของผลไม้ เครื่องเทศ การหมักเบียร์เอล เป็นสไตล์ที่นิยมสำหรับทำไว้ดื่มเองที่บ้าน หรือสำหรับโรงเบียร์ขนาดเล็ก ที่ไม่มีกำลังการผลิตสูง ประเภทของเบียร์เอลยังแตกแขนงไปได้อีกมากมาย แต่ชนิดของเอลที่รู้จักกันทั่วไป มี 4 ตัวหลัก คือ Bitter Ale, Pale Ale, Brown Ale และ Indian Pale Ale (IPA)
2. ลาเกอร์ (Lager) เป็นเบียร์ที่ผลิตโดยการใช้ยีสต์ประเภทหมักนอนก้น (bottom-fermentation yeast) ซึ่งกระบวนการหมักจะเกิดขึ้นบริเวณด้านล่างของถังหมักเบียร์ จึงนิยมเรียกการหมักแบบนี้ว่า เป็น Bottom -Fermentation นิยมใช้อุณหภูมิไม่เกิน 5 องศา หลังจากเสร็จกระบวนการหมักแล้ว ลาเกอร์จะถูกเก็บไว้ในห้องเย็นที่อุณหภูมิประมาณ 0 ถึง 32 องศาเซลเซียส เป็นเวลาหลายสัปดาห์ หรือ หลายเดือน ก่อนจะนำออกบริโภค ซึ่งจะทำให้เบียร์มีสีที่ใส และมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สูง
ซึ่งคำว่า “lager” เป็นภาษาเยอรมัน หมายถึง “การเก็บรักษา” เนื่องจากกระบวนการเก็บรักษาเบียร์ไว้ในที่เย็นจัดในระหว่างการหมักบ่มเป็นเวลาหลายเดือน ซึ่งวิธีนี้ทำให้ได้เบียร์ที่ไม่ขุ่น
lager นั้นจะมีทั้งสีอ่อนจนถึงสีเข้ม แต่ส่วนใหญ่แล้ว สีจะค่อนข้างอ่อน เมื่อเทียบกับ เอล มีทั้งรสที่หวานจนถึงขม บอดี้บางเบา ให้ความสดชื่น มีรสฮ็อปที่ค่อนข้างโดดเด่น มีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สูง และ ระดับแอลกอฮอล์อยู่ที่ประมาณ 3-5 % เบียร์ในท้องตลาดส่วนใหญ่จะเป็นเบียร์ลาเกอร์ ซึ่งมีกลิ่นและ รสชาติต่างกันไป เบียร์ลาเกอร์ ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ Pilsner style
เช่น Ale ก็จะมีการแตกแขนงออกไปเป็น Mild Ale, Vegetable Ale, German Ale, Pale Ale จากนั้นก็จะแตกแขนงไปเป็น India Pale Ale ได้อีกด้วย และนอกจากนี้สายตรงของ Ale ยังไปต่อที่ Stout/Porter ในส่วนของ lager แม้ว่าจะมาทีหลังแต่ก็แตกแยกย่อยออกไปได้อีกหลายเจ้าไม่ว่าจะเป็น American Lager, Pilsner, European Strong Lager, European Lager, German Lager เป็นต้น
เบียร์ ale และ lager สรุปความแตกต่าง
เมื่อได้อ่านรายละเอียดกรรมวิธีของเบียร์ทั้งสองประเภทไปแล้ว ซึ่งความแตกต่างนั้นถ้าเริ่มต้นก็ต้องพูดถึงวิธีการหมักเบียร์ระหว่าง Ale กับ Lager นั้นมันมีความต่างกันอย่างชัดเจน เรียกได้ว่าเปรียบเสมือนขาวกับดำเลยก็ว่าได้ โดยเบียร์เอลนั้น จะมีการใช้อุณหภูมิที่สูง ซึ่งยีสต์จะลอยอยู่ข้างบนและใช้ระยะเวลาในการหมักสั้น แต่เจ้า Lager จะใช้อุณหภูมิที่ต่ำ ยีสต์จะตกลงมาอยู่ก้นถังและใช้ระยะเวลานานกว่าเอล ทำให้เบียร์ Ale นั้นมีปริมาณแอลกอฮอล์ที่มากกว่า ซึ่งก็จะหมายความว่ากินเบียร์ Ale จะเมาง่ายกกว่า Lager นั่นเอง
ทั้งนี้ความแตกต่างของวิธีการหมักไม่ได้ทำให้แตกต่างเพียงแค่เรื่องความเมาเท่านั้น แต่การหมักของทั้งสองประเภทนั้นจะส่งผลไปถึงเรื่องของ สี กลิ่น ความซ่า และที่สำคัญที่สุดเลยก็คือในเรื่องของรสชาติ ถ้าหากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพแบบชัดเจนนั้น ให้ลองนึกถึงเบียร์นายทุนที่ขายอยู่ตามท้องตลาดในบ้านเรานั้น เช่น สิงห์ ลีโอ และช้าง ทั้งหมดนั้นจะเป็นเบียร์ Lager
สำหรับเบียร์ Ale ซึ่งถือเป็นเบียร์โบราณกลับเพิ่งจะได้รับความนิยมเมื่อไม่นานมากนี้เท่านั้น อย่าง IPA และ Pale Ale หรือ Stout เป็นต้น แน่นอนว่าคนไทยอย่างเราอาจจะรู้จักในส่วนของ Lager กันเป็นอย่างดีมากกว่า
ส่วนประกอบของเบียร์
- Barley (ข้าวบาร์เลย์) หนึ่งในพันธุ์ข้าว ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมายเลยก็ว่าได้ และที่นิยมกันเป็นพิเศษคือการนำเอามาทำเป็นขนมปัง ที่ชาวต่างชาตินิยมกันเป็นอย่างมาก รวมถึง ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และที่สำคัญเลยก็คือ เบียร์ ซึ่งก่อนที่จะได้นำข้าวบาร์เลย์มาทำเป็นหนึ่งในส่วนประกอบนั้นจะต้องมีการเข้าสู่กระบวนการที่เรียกว่า Malting เพื่อที่จะทำให้ข้าวที่เป็นแป้งกลายเป็นน้ำตาลเพื่อที่จะให้ยีสต์นั้นสามารถย่อยสลายได้ง่าย
- Yeast (ยีสต์) ส่วนประกอบสำคัญในการทำเบียร์เลยก็ว่าได้ เพราะจะทำหน้าที่เป็นตัวช่วยในการย่อยสลายน้ำตาลทที่สกัดมาจากมอลต์ เพื่อที่จะให้กลายเป็นแอลกอฮอล์ในที่สุด เรียกได้เป็นตัวการที่ทำให้เบียร์นั้นมีแอลกอฮอล์และทำให้ผู้ดื่มรู้สึกเมามายได้ก็เกิดจากยีสต์ที่เข้าไปย่อยสลายน้ำตาลจากมอลต์นั่นเอง
- Hops (ฮอปส์) พืชชนิดหนึ่งที่มีการนำเอาผลของฮอปส์มาใช้เป็นตัวที่ทำให้เบียร์นั้นมีความขม ซึ่งจุดนี้เองจะเป็นตัวช่อยในการสร้างความสมดุลของรสชาติหวานที่ได้จากมอลต์ นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ในการส่งกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งเป็นกลิ่นหอมชวนดื่ม มีชื่อเรียกว่า Hoppy และจุดเด่นอีกอย่างคือเป้นตัวช่วยที่ทำให้เบียร์นั้นเก็บได้นานขึ้นอีกด้วย
- Water (น้ำ) สุดท้ายคือน้ำ องค์ประกอบหลักและปริมาณมากที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะถ้าไม่มีน้ำส่วนผสมทั้งหมดก็จะไม่ได้กลายเบียร์
ถ้าหากคุณเป็นคอเบียร์และได้มาอ่านบทความนี้ขอบอกเลยว่าฟินกับข้อมูลแบบแน่น ๆ เนื้อ ๆ อย่างแน่นอน คราวนี้คุณจะสามารถนำไปแยกได้แล้วว่าเบียร์แต่ละประเภทนั้นแตกต่างกันอย่างไร แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ติดแบรนด์ดื่มแต่เบียร์ไทยเวลาไปแฮงค์เอ้าท์ก็อาจจะได้ดื่มแต่เบียร์ lager ที่เรียกได้ว่าหาซื้อกินง่ายสุด ๆ แต่ถ้ามากกว่านั้นหน่อย ก็อาจจะเป็นสายเอล ที่แม้ว่าจะหากินยากแต่รับรองว่าได้กินแล้วเมาแบบสะใจหายห่วงแน่นอนเพราะรสชาติเข้มข้นสุด ๆ และไม่เจือจาง ทั้งนี้การเลือกดื่มเบียร์ก็ขึ้นอยู่กับรสนิยมของทุกคนว่าจะชอบเบียร์แบบไหน
บทเรียนเริ่มต้นสำหรับนักดื่มเบียร์
เครดิตรูปภาพ bkkmenu.com
สนับสนุนโดย
คาสิโนออนไลน์ / เซ็กซี่บาคาร่า / เว็บตรง